,

,

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 4
วันอังคาร  ที่ 26  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


 กิจกรรมการเรียนการสอน
           
               - อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

6.  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   ( Childeren with Behavioral and Emotional Disorders )
                     - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
                     - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
                     - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้  2  ประเภท
      1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
      2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
           - วิตกกังวล
           - หนีสังคม
           - ก้าวร้าว
     
การจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
          - สภาพแวดล้อม
          - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
         - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้
         - รักษาความสัมพันธ์ความเพื่อนและครูไม่ได้
         - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
         - มีความคับข้องใจ และ มีความเก็บกดทางอารมณ์
         - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ
         - มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
                  - เด็กสมาธิสั้น
                  - เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึ่ม

เด็กสมาธิสั้น
          - เรียกย่อๆว่า ADHD
          - เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง
          - มีปัญหาสมาธิบกพร่อง
         
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
           - อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้าหรือที่นอน
           - ยังติดขวดนม
           - ดูดนิ้ว กัดเล็บ
           - หงอยเหงา เศร้าซึม
           - เรียกร้องความสนใจ
           - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
           - ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
           - ฝันกลางวัน
           - พูดเพ้อเจ้อ

7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ( Children with Learning Disability )
                - เรียกย่อๆว่า  L.D.
                - มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
                - มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด
                - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
               - มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์
               - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
               - เล่าเรื่อง
               - มีปัญหาทางด้านการอ่านการเขียน
               - ซุ่มซ่าม
               - รับลูกบอลไม่ได้
               - ติดกระดุมไม่ได้
               - เอาแต่ใจตนเอง

8. เด็กออทิสติก  ( Autistic )
              - หรือเด็กออทิสซึ่ม  ( Autisum )
              - เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย

พฤติกรรมสังคม
              - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักเป็นของตนเอง
              - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
              - ทักษะทางภาษา
              - ทักษะทางสังคม
              - ทักษะการเคลื่อนไหว
              - ทักษะรูปร่าง ขนาด

ลักษณะของเด็กออทิสติก
              - อยู่ในโลกของตนเอง
              - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ
              - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
              - ไม่ยอมพูด
              - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
              - ยึดติดกับวัตถุ
              - ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง
              - มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
              - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ
             
9. เด็กพิการซ้อน  ( Children With Multiple Handicaps )
             - เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง
             - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
             - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
             - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

       - อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครูเรื่อง "ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ" แล้วสรุปเป็น My Map ส่งท้ายคาบ



My Map ของฉัน





วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 3
วันอังคาร  ที่ 19  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


 กิจกรรมการเรียนการสอน
            
             วันนี้อาจารย์ได้สอน 2 เรื่อง  คือ เรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ และ เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา

1.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ (lChildren with Physical and Health  Impairments) มีดังนี้ คือ
1.1 เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
1.2อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
1.3มีปัญหาทางระบบประสาท
1.4มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ  สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท  
1.1อาการบกพร่องทางร่างกายคือ
- เด็กซีพี (Cerebral Palsy) มีลักษณะ คือ อัมพาต สมองพิการ หรือ สมองที่กำลังถูกพัฒนาก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
- การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน 

อาการของโรค
- อัมพาตเกร็งแขนขา หรือ ครึ่งซีก (Spastic)
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Atnetoid)
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
-อัมพาตตึงแข็ง (Regid)
-อัมพาตแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองควบคุมกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่ 
-จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  (Orthopedic)

คือ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่นวัณโรค กระดูก  หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Polimyelitis)

มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสร

ความบกพร่องทางสุภาพ
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง มีดังนี้
-ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก จะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
-การชักในช่วงเวลาสั้นๆ(Petit Mal)
มีอาการ ชักชั่วระยะสั้นๆ5-10 วินาที  เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงัก ในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
-การชักแบบรุนแรง ( Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราวๆ 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และ นอนหลับไปชั่วครู่

-อาการชักแบบ (Partial Complex) เกิดอาการเป็นระยะๆ กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจจะเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องนอนพัก
-อาการแบบไม่รู้ตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรือ อึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปาก หรือ ปลายนิ้ว 
-หกล้มบ่อยๆ
-หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา (Children with Speech and Language Disorders) เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูด ไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูด ไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

2.1ความผิดปกติด้านการออกเสียง
-ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม 
-เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
-เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด  เป็นฟาด
2.2ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
2.3ความผิดปกติด้านเสียง มีดังนี้
-ระดับเสียง 
-ความดัง
-คุณภาพของเสียง
2.4 ความผิดปกติทางการพูด และภาษาอันเนื่องมาจาก พยาธิ สภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า (Dysphasia หรือ aphasia) มีดังนี้
2.4.1 Motor aphasia 
- เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก 
-พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
2.4.2 Wernicke 's apasia 
-เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจ ความหมาย
-ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
2.4.3 Conduction aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตาม หรือ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
2.4.4 Nominal aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ มักเกิด ร่วมไปกับ Gerstmann's syndrome
2.4.5 Global aphasia 
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน 
-พูดไม่ได้เลย
2.4.6 Sensory agraphia 
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถาม หรือ เขียนชื่อวัตถุ ก็ ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
2.4.7 Motor agraphia 
-เด็กที่ลอกตัวเขียน หรือ ตัวพิมพ์ ไม่ได้
-เขียนตามคำบอกไมได้
2.4.8 Cortical alexia 
-เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
2.4.9 Motor alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
2.4.10 Gerstmann's syndrome
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
-ไม่รู้ชี้ซ้ายขวา (Allochiria)
-คำนวณไม่ได้ (Acalculia)
-เขียนไม่ได้ (Agraphia)
-อ่านไม่ออก(Alexia)
2.4.11 Visual agnosia 
-เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
2.4.12 Auditory agnosia
- เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำ หรืือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
-ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
-ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10เดือน
-ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
-หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
-ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
-หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถาศึกษา
-มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย



**หมายเหตุ ดิฉันขอลากิจ



จดหมายลากิจ


                                      


วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 2


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 2
วันอังคาร  ที่ 12  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


 กิจกรรมการเรียนการสอน

          ทางการศึกษาได้ให้ความหมายเด็กพิเศษ   All Childrer Can Cearn!  เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้ได้


          สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  หมายถึง

                  - เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจาการให้การช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
                  - มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
                  - จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นช่วยเหลือการบำบัดฟื้นฟู
                  - จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล

         ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ   มี 10 ประเภท  แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วไปว่า                  " เด็กปัญญาเลิศ "
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง

         1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา  หมายถึง  เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน  มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

                
                   เด็กเรียนช้า
          - สามารถเรียนในชั้นเรียนได้ปกติ
          - เด็กทที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
          - ขาดทักษะในการเรียนรู้
          - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
          - มีระดับสติปัญญา  ( IQ )  ประมาณ 71-90
สาเหตุของการเรียนล่าช้า
          1. ภายนอก
                 - เศรษฐกิจครอบครัว
                 - การเสริมสร้างประสบการณ์ของคนในครอบครัว
                 - สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
                 - การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
                 - วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
          2. ภายใน
                 - พัฒนาการช้า
                 - การเจ็บป่วย
             
                เด็กปัญญาอ่อน
        - เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก
        - แสดงลักษณะเฉพาะ คือ ระดับสติปัญญาต่ำ
        - มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
        - มีความจำกัดทางด้านทักษะ
        - มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
        - มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา  ( IQ )  ได้ 4 กลุ่ม
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
        - ไม่พูดหรือพูดไม่สมกับวัย
        - ช่วงความสนใจสั้น
        - ความคิด อารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย
        - ทำงานช้า
        - รุนแรงไม่มีเหตุผล
        - อวัยวะมีรูปร่างผิดปกติกล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
        - ช่วยเหลือตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
             
                 2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน  หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือเด็กที่สูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน  มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
               
                  เด็กหูตึง  หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยินแต่สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟังจำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม

                  เด็กหูหนวก  

           - เด็กที่สูญเสียการได้ยิน
           - เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
           - ไม่เข้าใจภาษาพูด
           - ระดับได้ยินตั้งแต่  91 dB ขึ้นไป
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
           - ไม่ตอบสนองเสียงพูด
           - ไม่พูดมักแสดงออกด้วยท่าทาง
           - พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
           - พูดด้วยเสียงแปลก
           - พูดด้วยเสียงต่ำหรือเสียงดังเกิน
           - เวลาฟังมักมองปากของคนพูด
           - รู้สึกไวต่อแรงสั่นสะเทือน
           - มักทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย

           3. บกพร่องทางการมองเห็น  

                     - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง
                     - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
                     - สามารถมองเห็นได้ 1/10
                     - มีลานสายตากว้าไม่เกิน 30 องศา
          จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท

                เด็กตาบอด

          - ไม่สามารถมองเห็นได้เลยหรือมองเห็นบ้าง
          - ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
          - มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ  6/60 , 2/200  ลงมาจนถึงบอดสนิท

               เด็กตาบอดไม่สนิท

          - มีความบกพร่องทางสายตา
          - เห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติก
          - มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น
           - ชนสดุดสิ่งของ
           - มองสีผิดไปจากปกติ
           - มักบ่นว่าปวดศีรษะ ตาลาย
           - ก้มศีรษะชิดกับงาน
           - เพ่งตา หรี่ตา
           - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
           - แยกแยะรูปเรขาคณิตไม่ได้






วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 1


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 1
วันอังคาร  ที่ 5  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



 กิจกรรมการเรียนการสอน

         1.  อาจารย์มอบหมายงานกลุ่ม  ( ประเภทเด็กพิเศษ  5  ประเภท )      20 คะแนน
         2.  อาจารย์มอบหมายงานเดี่ยว  ( วิจัย )     10 คะแนน  ( เด็กพิเศษ )
         3.  อาจารย์ให้ทำ  Blogger  ให้บันทึกการเรียนลงใน  Blogger       30 คะแนน
         4.  คะแนนจิตพิสัย    20 คะแนน
         5.  ไม่มีการสอบกลางภาค
         6.  อาจารย์สั่งให้  My  Map  ในคารเรียน เกี่ยวกับ เด็กพิเศษ  ว่าเราเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าเด็กพิเศษยังไง


My Map ของดิฉัน


ใบบันทึกการเข้าเรียน