,

,

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 16

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 16
วันอังคาร  ที่ 18  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




อาจารย์ให้มารับข้อสอบ





บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 15

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 15
วันอังคาร  ที่ 11  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**  ไม่ได้เข้าเรียน  
เนื่องจากติดสอบวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย





บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 14

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 14
วันอังคาร  ที่ 4  กุมภาพันธ์  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ





           กิจกรรมการเรียนการสอน

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


Down's  syndrome
- รักษาตามอาการ
- แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม

1. ด้านสุขภาพอนามัย
       บิดามารดาให้พาบุตรไปพบแพทย์ตั้งแต่เริ่มแรก  ติดตามการรักษาเป็นระยะ

2. การส่งเสริมพัฒนาการ
       เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม

3. การดำรงชีวิตประจำวัน
      ฝึกช่วยเหลือตนเองให้มาที่สุด

4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์  เช่น การฝึกพูด  กายภาพบำบัด  กิจกรรมบำบัด
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล  ( LEP )
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
       - การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ

การปฏิบัติของบิดามารดา
       - ยอมรับความจริง
       - เด็กกลุ่มอารดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
       - ให้ความรักและความอบอุ่น
       - การตรวจภายใน  ตรวจหามะเร็งปากมดลูกและเต้านม
       - การคุมกำเนิดและการทำหมัน
       - การสอนเพศศึกษา
       - ตรวจโรคหัวใจ

การส่งเสริมพัฒนาการ
      - พัฒนาทักษะด้านต่างๆ  เช่น  คณิตศาสตร์และภาษา
      - สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
      - สังคมยอมรับมากขึ้น ไปโรงเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
      - ลดปัญหาพฤติกรรม
      - คุณภาพชีวิตดีขึ้น


Autistic

ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
     - ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูและช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถเด็ก
     - การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
     - ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
     - เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
     - การให้แรงเสริม

การฝึกพูด
     - โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อความหมายล่าช้า
     - ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่จะพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเด็กปกติก็จะเพิ่มมากขึ้น
     - ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
     - ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
     - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )

การสื่อความหมายทดแทน  ( Augmentative and Alternative Communication ; AAC )
     - การรับรู้ผ่านการมองเห็น  ( Visual Strategies )
     - โปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร  ( Picture Exchange Communication System ; PECS )
     - เครื่องโอภา  ( Communication Devices )
     - โปรแกรมปราศัย

การส่งเสริมพัฒนาการ
    - ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
    - เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา  การมีสมาธิ  การฟัง  และทำตามคำสั่ง
    - ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร  สังคม  และการปรับพฤติกรรม

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
     - เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม  การสื่อการ  และทักษะทางความคิด
     - แผนการจักการศึกษาเฉพาะบุคคล
     - โรงเรียนร่วม  ห้องเรียนคู่ขนาน

ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
     - ทักษะในชีวิตประจำวันและการฝึกฝนทักษะสังคม
     - ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา
    - Methylphenidate  ( Ritalin )  ช่วยลดอาการไม่นิ่ง / ซน / หุนหันพลันแล่น / ขาดสมาธิ
    - Risperidone / Haloperidol  ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง  หงุดหงิด  หุนหันพลันแล่น  พฤติกรรมซ้ำๆ  พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
    - ยาในกลุ่ม  Anticonvulsant  ( ยากันชัก )  ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

การบำบัดทางเลือก
   - การสื่อความหมายทดแทน  ( AAC )
   - ศิลปกรรมบำบัด  ( Art Therapy )
   - ดนตรีบำบัด  ( Music Therapy )
   - การฝังเข็ม  ( Acupuncture )
   - การบำบัดด้วยสัตว์  ( Animal Therapy )

พ่อแม่
    - ลูกต้องพัฒนา
ได้
    - เรารักลูกของเราไม่ว่าเข้าจะเป็นอย่างไร
    - ถ้าเราไม่รักและใครจะรัก
    - หยุดไม่ได้
    - ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
    - ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
    - ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว









บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 13

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 13
วันอังคาร  ที่ 28  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




** สอบกลางภาคในคาบเรียน **







บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 12

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 12
วันอังคาร  ที่ 21  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




กิจกรรมการเรียนการสอน


           พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                 พัฒนาการ  หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ โดยทั่วไปพัฒนาการปกติแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย  พัฒนาการด้านสติปัญญา  พัฒนาการด้านจิตใจ - อารมณ์  พัฒนาการด้านสังคม

                 เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  หมายถึงเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากวาเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านหรือทุกด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลในพัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้


               ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก

ปัจจัยทางด้านชีวภาพ  เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด  การติดเชื้อ  สารพิษ  สภาวะทางโภชนาการ
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด
ปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อมหลังคลอด  สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมต่อพัฒนาการของเด็ก


            สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. โรคทางพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4. การผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด
6. สารเคมี
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


           อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  มีพัฒนาการล่าช้าอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน


          แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ


             แนวทางในการดูแลรักษา

1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการล่าช้า
2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
4. การส่งเสริมพัฒนาการ
5. ให้คำปรึกษากับครอบครัว


               สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การตรวคิดกรองพัฒนาการ
2. การตรวประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ


                บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

1. การตรวจการได้ยิน
2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
4. บริการทางการแพทย์
5. บริการทางการพยาบาล
6. บริการด้านโภชนาการ
7. บริการด้านจิตวิทยา
8. กายภาพบำบัด
9. กิจกรรมบำบัด
10. อรรถบำบัด


อาจารย์ให้วาดรูปตามแบบ




              - อาจารย์ให้นำเสนองานต่อให้เสร็จอีก 2 กลุ่ม มีเรื่อง ดาวซินโดม และ ออทิสติก
              - อาจารย์นัดสอบในสัปดาห์หน้า









บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 11

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 11
วันอังคาร  ที่ 14  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากสถานการณ์บ้านเมือง
หมายเหตุ ต้องหาเวลาชดเชย 1 วัน







บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 10

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 10
วันอังคาร  ที่ 7  มกราคม  2557   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




กิจกรรมการเรียนการสอน

                - อาจารย์ให้พรีเซ็นงานและแจกใบประเมินการรายงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม
                - อาจารย์แจกชีส พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


กลุ่ม 1 เรื่องสมองพิการ
            
             สาเหตุ
1. มีความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา เช่น มารดาเป็นโรคหัดเยอรมัน  มารดาขาดอาหารอย่างรุ่นแรง  เป็นต้น เป็นผลให้สมองมีการเจริญเติบโตผิดปกติ
2. เด็กคลอดยาก
3. มีอาการดีซ่านอย่างรุ่นแรงในระยะหลังคลอด
4. เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางสมอง

           อาการ

- มีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
- กล้ามเนื้อจะเกร็งตัวมาก
- มีความเคลื่อนไหวผิดปกติ




กลุ่ม 2 เรื่องเด็ก LD

              สาเหตุ
- การได้รับบาดเจ็บทางสมอง
- พันธุกรรม
- สิ่งแวดล้อม

             ประเภทของ LD
1. LD ด้านการเขียนสะกดคำ
2. LD ด้านการอ่าน
3. LD ด้านการคำนวณ
4. LD หลายๆ ด้านรวมกัน

            อาการ
- แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
- มีปัญาหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
- เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้ายขวา
- สมาธิไม่ดี
- ทำงานช้า
- ฟังคำสับสน





กลุ่ม 3 สมาธิสั้น  ไฮเปอร์

           สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของสมองแต่ระบุไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใดที่ทำให้สมองผิดปกติ

          อาการ
1. อาการซนมากกว่าปกติ
2. อาการสมาธิสั้น หรือไม่มีสมาธิ
3. อาการหุนหันพลันแลน

         การักษา
1. จัดตารางชีวิตให้เป็นระบบ
2. เลือกกิจกรรมให้เหมาะสม
3. ทำงานบ้าน
4. สอนแบบค่อยเป็นค่อยไป
5. ให้เวลา
6. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม






วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 9

   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 9
วันอังคาร  ที่ 31  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



**  ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก วันหยุดปีใหม่







บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 8


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 8
วันอังคาร  ที่ 24  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




**  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค







               

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 7


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 7
วันอังคาร  ที่ 17  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีการแข่งกีฬา เทา-เหลือง ของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม




              




บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 6


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 6
วันอังคาร  ที่ 9  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




  **  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุดราชกาล วันรัฐธรรมนูญ








วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 5


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 5
วันอังคาร  ที่ 3  ธันวาคม  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ




 **  ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอุปกรณ์ในการเรียนขัดข้องอาจารย์เลยให้เอางานวิชาอื่นที่ค้างคามาทำในคาบเรียน




วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 4


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 4
วันอังคาร  ที่ 26  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


 กิจกรรมการเรียนการสอน
           
               - อาจารย์อธิบายประเภทของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

6.  เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์   ( Childeren with Behavioral and Emotional Disorders )
                     - เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
                     - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
                     - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้  2  ประเภท
      1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
      2. เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด คือ
           - วิตกกังวล
           - หนีสังคม
           - ก้าวร้าว
     
การจัดว่าเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
          - สภาพแวดล้อม
          - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก
         - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้
         - รักษาความสัมพันธ์ความเพื่อนและครูไม่ได้
         - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
         - มีความคับข้องใจ และ มีความเก็บกดทางอารมณ์
         - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ
         - มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
                  - เด็กสมาธิสั้น
                  - เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึ่ม

เด็กสมาธิสั้น
          - เรียกย่อๆว่า ADHD
          - เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง
          - มีปัญหาสมาธิบกพร่อง
         
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
           - อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้าหรือที่นอน
           - ยังติดขวดนม
           - ดูดนิ้ว กัดเล็บ
           - หงอยเหงา เศร้าซึม
           - เรียกร้องความสนใจ
           - อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
           - ขี้อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
           - ฝันกลางวัน
           - พูดเพ้อเจ้อ

7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้  ( Children with Learning Disability )
                - เรียกย่อๆว่า  L.D.
                - มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
                - มีปัญหาทางการใช้ภาษาหรือการพูด
                - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
               - มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์
               - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
               - เล่าเรื่อง
               - มีปัญหาทางด้านการอ่านการเขียน
               - ซุ่มซ่าม
               - รับลูกบอลไม่ได้
               - ติดกระดุมไม่ได้
               - เอาแต่ใจตนเอง

8. เด็กออทิสติก  ( Autistic )
              - หรือเด็กออทิสซึ่ม  ( Autisum )
              - เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์อย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย

พฤติกรรมสังคม
              - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักเป็นของตนเอง
              - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
              - ทักษะทางภาษา
              - ทักษะทางสังคม
              - ทักษะการเคลื่อนไหว
              - ทักษะรูปร่าง ขนาด

ลักษณะของเด็กออทิสติก
              - อยู่ในโลกของตนเอง
              - ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ
              - ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
              - ไม่ยอมพูด
              - เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ
              - ยึดติดกับวัตถุ
              - ต่อต้านหรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง
              - มีท่าทางเหมือนคนหูหนวก
              - ใช้วิธีการสัมผัสและเรียนรู้สิ่งต่างๆ
             
9. เด็กพิการซ้อน  ( Children With Multiple Handicaps )
             - เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง
             - เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
             - เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
             - เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

       - อาจารย์ให้ดูโทรทัศน์ครูเรื่อง "ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ" แล้วสรุปเป็น My Map ส่งท้ายคาบ



My Map ของฉัน





วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียน ครั้งที่ 3


   บันทึกการเข้าเรียน  ครั้งที่ 3
วันอังคาร  ที่ 19  พฤศจิกายน  2556   ( กลุ่ม 101 )
วิชา  การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


 กิจกรรมการเรียนการสอน
            
             วันนี้อาจารย์ได้สอน 2 เรื่อง  คือ เรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ และ เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา

1.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ (lChildren with Physical and Health  Impairments) มีดังนี้ คือ
1.1 เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
1.2อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
1.3มีปัญหาทางระบบประสาท
1.4มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ  สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท  
1.1อาการบกพร่องทางร่างกายคือ
- เด็กซีพี (Cerebral Palsy) มีลักษณะ คือ อัมพาต สมองพิการ หรือ สมองที่กำลังถูกพัฒนาก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
- การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน 

อาการของโรค
- อัมพาตเกร็งแขนขา หรือ ครึ่งซีก (Spastic)
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Atnetoid)
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
-อัมพาตตึงแข็ง (Regid)
-อัมพาตแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองควบคุมกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่ 
-จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  (Orthopedic)

คือ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่นวัณโรค กระดูก  หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Polimyelitis)

มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
-ยืนไม่ได้หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสร

ความบกพร่องทางสุภาพ
โรคลมชัก (Epilepsy)
เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง มีดังนี้
-ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก จะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
-การชักในช่วงเวลาสั้นๆ(Petit Mal)
มีอาการ ชักชั่วระยะสั้นๆ5-10 วินาที  เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงัก ในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
-การชักแบบรุนแรง ( Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราวๆ 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และ นอนหลับไปชั่วครู่

-อาการชักแบบ (Partial Complex) เกิดอาการเป็นระยะๆ กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจจะเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องนอนพัก
-อาการแบบไม่รู้ตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรือ อึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปาก หรือ ปลายนิ้ว 
-หกล้มบ่อยๆ
-หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

2.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา (Children with Speech and Language Disorders) เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูด ไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูด ไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

2.1ความผิดปกติด้านการออกเสียง
-ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม 
-เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
-เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด  เป็นฟาด
2.2ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
2.3ความผิดปกติด้านเสียง มีดังนี้
-ระดับเสียง 
-ความดัง
-คุณภาพของเสียง
2.4 ความผิดปกติทางการพูด และภาษาอันเนื่องมาจาก พยาธิ สภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า (Dysphasia หรือ aphasia) มีดังนี้
2.4.1 Motor aphasia 
- เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก 
-พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
2.4.2 Wernicke 's apasia 
-เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจ ความหมาย
-ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
2.4.3 Conduction aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตาม หรือ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
2.4.4 Nominal aphasia 
-เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ มักเกิด ร่วมไปกับ Gerstmann's syndrome
2.4.5 Global aphasia 
-เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน 
-พูดไม่ได้เลย
2.4.6 Sensory agraphia 
-เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถาม หรือ เขียนชื่อวัตถุ ก็ ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
2.4.7 Motor agraphia 
-เด็กที่ลอกตัวเขียน หรือ ตัวพิมพ์ ไม่ได้
-เขียนตามคำบอกไมได้
2.4.8 Cortical alexia 
-เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
2.4.9 Motor alexia
-เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
2.4.10 Gerstmann's syndrome
-ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
-ไม่รู้ชี้ซ้ายขวา (Allochiria)
-คำนวณไม่ได้ (Acalculia)
-เขียนไม่ได้ (Agraphia)
-อ่านไม่ออก(Alexia)
2.4.11 Visual agnosia 
-เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
2.4.12 Auditory agnosia
- เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำ หรืือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
-ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
-ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10เดือน
-ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
-หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
-ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
-หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถาศึกษา
-มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
-ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย



**หมายเหตุ ดิฉันขอลากิจ



จดหมายลากิจ